เมนู

17. อุปปันนติกะ


ปัญหาวาระ1


อนุโลมนัย


1. เหตุปัจจัย


[1888] 1. อุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วย
อำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ เหตุทั้งหลายที่เป็นอุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

2. อารัมมณปัจจัย


[1889] 1. อุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วย
อำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลพิจารณาเห็นจักษุที่เป็นอุปปันนธรรม โดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนันตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภ
จักษุนั้น ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ
โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
1. ติกะนี้ ไม่มีวาระ 6 มีปฏิจจวาระเป็นต้น.


บุคคลพิจารณาเห็นโสตะที่เป็นอุปปันนธรรม ฯลฯ ฆานะ ชิวหา กายะ
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปปันน-
ธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯลฯ โทมนัส ย่อม
เกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่
อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
[1890] 2. อนุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วย
อำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลพิจารณาเห็น รูปที่เป็นอนุปปันนธรรม ฯสฯ เสียง กลิ่น
รส โผฏฐัพพะ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนุปปันนธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่
เจโตปริยญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
[1891] 3. อุปปาทิธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วย
อำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลพิจารณาเห็นจักษุที่เป็นอุปปาทิธรรม ฯลฯ กายะ รูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอุปปาทิธรรม โดย
ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนันตตา ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปปาทิธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโต-
ปริยญาณ ฯลฯ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

3.อธิปติปัจจัย


[1892] 1. อุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้เเก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุที่เป็นอุปปันน-
ธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำจักษุนั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่นแล้ว ฯลฯ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลย่อมยินดีย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำโสตะที่เป็นอุปปันน-
ธรรม ฯลฯ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปปันนธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำ
โสตะเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นอุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
[1893] 2. อนุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย